วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

สถิติเชิงบรรยาย

สถิติเชิงบรรยาย (Descriptive statistics) เป็นสถิติที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูล ของสิ่งที่เราสนใจ โดยมีการนำมาจัดให้เป็นระบบ เพื่อให้เข้าใจหรือสื่อความหมายได้มากยิ่งขึ้น สถิติประเภทนี้จะไม่มีการสรุปอ้างถิงไปยังกลุ่มประชากร
ตัวอย่างสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่
1. การวัดค่าแนวโน้มสู่ศูนย์กลาง เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าฐานนิยม และค่ามัธยฐาน
2. การวัดค่าการกระจาย เช่น ค่าพิสัย ค่าความแปรปรวน และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

3. การหารูปทรงของการกระจายของข้อมูล

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557

การเลือกเครื่องมือทางสถิติ สำหรับข้อมูลแบบค่าวัด และมีการแจกแจง แบบปกติ

การตัดสินใจเลือกเครื่องมือทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลได้มาอย่างสุ่ม
สำหรับ
          1. ข้อมูลแบบค่าวัด
          2. ข้อมูลมีการแจกแจง แบบปกติ
จำนวนกลุ่มและตัวแปรต้น
การวิเคราะห์
1) ข้อมูล 1 กลุ่ม ,
    
1 ตัวแปรต้น
1.1) สนใจค่าเฉลี่ยแตกต่างจาก
       ค่าคาดหวังหรือไม่ (
μ=x)
          -ทราบความแปรปรวน
            ใช้
1 sample z-test
          -ไม่ทราบความแปรปรวน
            ใช้
1 sample t-test
1.2) สนใจความแปรปรวน (σ1=x)
       ใช้ Chi-square test

2) ข้อมูล 2 กลุ่ม ,
   1 ตัวแปรต้น
2.1) สนใจค่าเฉลี่ย 2 กลุ่มแตก
       ต่างกันหรือไม่ (
μ1= μ2)
          -กลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อ
            กัน ใช้
2 sample t-test
          -กลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระ
            ต่อกัน ใช้
Paired T-test
2.2) สนใจความแปรปรวน
        (
σ1=σ2) ใช้ F-test
3) ข้อมูล > 2 กลุ่ม ,
    
1 ตัวแปรต้น
3.1) สนใจค่าเฉลี่ย 3 กลุ่มขึ้นไป
        แตกต่างกันหรือไม่
   
        (
μ1= μ2=…= μi)
        ใช้ 1 way ANOVA
3.2) สนใจความแปรปรวน
       (
σ1=σ2=…=σi)
       ใช้
Bartlett’s Test
4) ข้อมูล > 2 กลุ่ม ,
     ≥
2 ตัวแปรต้น
4.1) สนใจการพยากรณ์
       การหาสมการ
y=a+bx
       ใช้ Regression analysis
4.2) สนใจความสัมพันธ์ (ρ=0)
       ใช้ Correlation analysis
4.3) สนใจค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และ 2
       ตัวแปรต้นขึ้นไปแตกต่างกัน
       หรือไม่
(μ1= μ2=…= μi)
       ใช้ 2 way ANOVA,
        GLM ANOVA

วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2557

ทดสอบการกระจายแบบปกติ

วิธีที่ 1    นำข้อมูลที่ได้มาวาดกราฟ Histogram แล้วดูรูปทรงว่ามีลักษณะใกล้เคียงกับรูปทรงของการกระจายแบบปกติ (รูประฆังคว่ำสมมาตร) หรือไม่
วิธีที่ 2    นำข้อมูลที่ได้มาทดสอบการกระจายแบบปกติ (Normality test) โดยตั้งสมมุติฐาน ดังนี้
          H : ข้อมูลมาจากประชากรที่มีการกระจายแบบปกติ
          H1 : ข้อมูลไม่ได้มาจากประชากรที่มีการกระจายแบบปกติ
          ลักษณะของข้อมูล : ข้อมูลแบบระดับการวัดแบบช่วง (Interval data) หรืออัตราส่วน (Ratio data)

          การทดสอบการกระจายแบบปกติโดยการใช้โปรแกรม Minitab สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
          วิธีที่ 1 ใช้ Graphical Summary
          วิธีที่ 2 ใช้ Normality test

การกระจายตัวแบบปกติ (Normal distribution)

การกระจายตัวแบบปกติ (Normal distribution) เป็นการกระจายตัวพื้นฐานที่มีการนำไปใช้มากที่สุดเพราะข้อมูลส่วนใหญ่มีการกระจายตัวแบบปกติ มีคุณสมบัติดังนี้

          1. มีลักษณะคล้ายระฆังคว่ำ
          2. โค้งจะเป็นรูปที่สมมาตร (Symmetry) นั้นคือ ถ้าพับตรงเส้นกึ่งกลาง เส้นโค้งจะทับกันพอดี
          3. ตำแหน่งตรงกลาง คือ ค่าเฉลี่ยของข้อมูล (μ)
          4. ปลายโค้งทั้ง 2 ข้างไม่สัมผัสฐานของโค้ง นั่นคือ ปลายโค้งจะมีขอบเขตอนันต์ (- ถึง)
          5. ลักษณะการกระจายของข้อมูลใต้โค้งจะมีพื้นที่ดังนี้
                   μ±1σ = 68.26%
                   μ±2σ = 95.44%
                   μ±3σ = 99.73%

ข้อกำหนดเบื้องต้นของวิธีการทดสอบสถิติ

ข้อกำหนดเบื้องต้นของวิธีการทดสอบสถิติแบบต่างๆ


ข้อกำหนดเบื้องต้น (Assumption)
Z-test
1-sample
t-test
Independent
t-test
Paired
t-test
ANOVA
(without replication)
ANOVA
(with replication)
1. ประชากรมีการกระจายแบบปกติ
2. ข้อมูลมีลักษณะการกระจายอย่างสุ่ม
3. ทราบความแปรปรวนของประชากร





4. ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากร




5. ไม่ทราบความแปรปรวนของประชากรแต่ความแปรปรวนของประชากรของแต่ละกลุ่มตัวอย่างต้องไม่แตกต่างกัน




6. ใช้ทดสอบกลุ่มตัวอย่าง 1 หรือ 2 กลุ่ม





7. ใช้ทดสอบ 1 กลุ่มตัวอย่าง





8. ใช้ทดสอบ 2 กลุ่มตัวอย่าง (กรณีกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระกัน)



2 กลุ่มตัวอย่างขึ้นไป
2 กลุ่มตัวอย่างขึ้นไป
9. ใช้ทดสอบ 2 กลุ่มตัวอย่างที่มีความสัมพันธ์กันหรือได้มาจากกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน





10. ตัวแปรตามที่มีการวัดซ้ำแต่ละครั้งมีความสัมพันธ์กัน





11. ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
30
<30
<30
<30


12. ระดับการวัดเป็นแบบช่วง (Interval data) หรืออัตราส่วน (Ratio data)

การเลือกเครื่องมือทางสถิติ สำหรับ ข้อมูลจำนวนนับ

สำหรับ
          1. ข้อมูลจำนวนนับ
          2. ข้อมูลได้มาอย่างสุ่ม


ลักษณะ
การนับ
จำนวนกลุ่มตัวอย่าง
การวิเคราะห์
1)นับจำนวน
และคำนวณค่าเป็นสัดส่วนได้
1.1) นับจำนวนต่อ 1 หน่วย
1.1.1) ข้อมูลมี 1 กลุ่ม
สนใจค่าสัดส่วนแตกต่างจากค่าคาดหมายหรือไม่ (p=x) ใช้ 1 Proportion test
1.1.2) ข้อมูลมี 2 กลุ่ม
สนใจค่าสัดส่วนของ 2 กลุ่มตัวอย่างแตกต่างกันหรือไม่ (p1=p2) ใช้ 2 Proportion test
1.2) นับจำนวนต่อหน่วยพื้นที่
1.2.1) ข้อมูลมี 1 กลุ่ม
สนใจอัตราส่วนแตกต่างจากค่าคาดหมายหรือไม่ (rate=x) ใช้ 1 Sample Poisson Rate
1.2.2) ข้อมูลมี 2 กลุ่ม
สนใจอัตราส่วนของ 2 ส่วนตัวอย่างแตกต่างกันหรือไม่ (rate1=rate2) ใช้ 2 Sample Poisson Rate
2)นับจำนวนและสนใจว่าตัวแปรหนึ่งมีผลต่ออีกตัวแปรหนึ่งหรือไม่
-
ข้อมูลตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป
สนใจความสัมพันธ์ หรือทดสอบอัตราส่วนต้องสามารถจัดอยู่ในรูปแบบตาราง (Contingency table) ใช้ Chi-square test

การเลือกเครื่องมือทางสถิติ สำหรับข้อมูลแบบค่าวัดและมีการกระจายแบบอื่นๆ

สำหรับ
          1. ข้อมูลแบบค่าวัด
          2. ข้อมูลมีการกระจายแบบอื่น (ไม่สนใจว่าข้อมูลมีการกระจายแบบใด)

จำนวนกลุ่มและตัวแปรต้น
การวิเคราะห์
1) ข้อมูล 1 กลุ่ม
   , 
1 ตัวแปรต้น
1.1) สนใจค่ากลางแตกต่างจากค่า
       คาดหวังหรือไม่ (
Median=x)
       ใช้ 1 Sample Sign Test,
       1 Sample Wilcoxon Test
1.2) สนใจข้อมูลได้มาอย่างสุ่ม
        หรือไม่ ใช้
run test
2) ข้อมูล 2 กลุ่ม
   , 
1 ตัวแปรต้น
2.1) สนใจค่ากลาง 2 กลุ่มตัวอย่าง
       มีความแตกต่างกันหรือไม่
       (Median1=Median2)
       ใช้ Mann-Whitney Test
2.2) สนใจความแปรปรวน
      (σ1=σ2ใช้ Levene’s test
3) ข้อมูล>2 กลุ่ม
   ,
1 ตัวแปรต้น
3.1) สนใจค่ากลางมากกว่า 2 กลุ่ม
       ตัวอย่างมีความแตกต่างกัน
       หรือไม่
       (
Median1=Median2=…
        =Mediani)
       ใช้ Kruskal-Wallis Test,
       Mood’s Median Test
3.2) สนใจความแปรปรวน
      (σ1=σ2=…=σi)
       ใช้ Levene’s Test
4) ข้อมูล>2 กลุ่ม
   ,2
 ตัวแปรต้น
4.1) สนใจค่ากลางมากกว่า 2 กลุ่ม
       ตัวอย่างมีความแตกต่างกัน
       หรือไม่
       (Median1=Median2=…
       =Mediani)
       ใช้ Friedman Test